ระบบกล้องวงจรปิด

Last updated: 17 พ.ค. 2562  |  1143 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระบบกล้องวงจรปิด

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบกล้องวงจรปิด

อยากรู้คลิกอ่านเลย!!

1.กล้องวงจรปิดและเลนส์ (CCTV Camera and Lens)
1.1 แบ่งตามลักษณะการทำงานของกล้องวงจรปิด
- กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน เป็นกล้องที่ใช้ในแสงปกติ สามารถใช้งานได้เฉพาะในที่ๆมีแสงสว่างเท่านั้น
- กล้องวงจรปิดแบบอินฟาเรด เป็นกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้ในที่มืดสนิทได้ ทำให้ระบบกล้องวงจรปิดสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยกล้องวงจรปิดชนิดนี้จะมีเซนเซอร์ที่ด้านของตัวกล้องเพื่อตรวจวัดระดับแสง หากมีน้อยในระดับกล้องวงจรปิดนั้นไม่สามารถจับภาพได้อีก
เซนเซอร์จะทำการส่งสัญญาณเพื่อให้หลอดอินฟาเรดทำงาน
- กล้องวงจรปิดDay & Night เป็นกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และต้องการแสงเล็กน้อยเพื่่อให้กล้องวงจรปิดสามารถ
จับภาพได้ เมื่อกล้องวงจรปิดชนิดนี้เข้าสู่ Night Mode ภาพจะเป็นสีขาว-ดำ
- กล้องวงจรปิดStar Light การทำงานเหมือนกล้องวงจรปิดDay&Night แต่สามารถให้ภาพสีได้ แม้เข้าสู่Night Mode แล้วก็ตาม
- กล้องวงจรปิดแบบย้อนแสง(Backlight) เป็นกล้องวงจรปิดที่สามารถปรับสภาพแสงของกล้องให้เหมาะสมกับปริมาณแสงที่เปลี่ยนไป
เหมาะสำหรับติดตั้งในจุดที่ต้องการดูภาพย้อนแสง เช่น ทางเข้า-ออกลานจอดรถ
1.2 แบ่งตามลักษณะภายนอกของกล้องวงจรปิด
- กล้องเหลี่ยม(Box Camera)และกล้องวงจรปิดแบบทรงกระบอก(Bullet) เป็นกล้องวงจรปิดทรงมาตรฐานสามารถติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร มีความสามารถทนแดด ทนลมและกันฝนได้ดีในระดับหนึ่ง โดยกล้องวงจรปิดทรงมาตรฐานนี้ยังสามารถแบ่งได้อีกเป็น 2 ประเภท
ตามการใช้งานของเลนส์ ดังนี้
1) กล้องวงจรปิดที่ใช้เลนส์แบบCS Mount  เป็นกล้องวงจรปิดที่ตัวกล้อง และ เลนส์แยกออกจากกัน ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการในการใช้งาน
2) กล้องวงจรปิดแบบFixed Lens เป็นกล้องวงจรปิดที่มีเลนส์ติดมากับแผงวงจร ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเลนส์ได้ 
- กล้องวงจรปิดแบบโดม(Dome) เป็นกล้องวงจรปิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อการติดตั้งภายในอาคาร เนื่องจากมีรูปทรงที่สวยงามและพรางตัวได้ดีกว่า
กล้องแบบทรงกระบอก
- IP Camera (Internet Protocol Camera) คือ กล้องวงจรปิดที่มีความสามารถบางส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้กล้องวงจรปิดชนิดนี้ สามารถดูภาพแบบReal Time ผ่านระบบInternetได้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาความปลอดภัยจากระยะไกล กล้องวงจรปิดชนิดนี้มีทั้งแบบ
ใช้สาย(Wiring)และไร้สาย(Wireless) การใช้งานกล้องวงจรปิดชนิดนี้เหมาะกับงานที่ต้องการใช้คุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวของIP Camera
ไม่เหมาะกับงานติดตั้งทั่วๆไปเพราะราคากล้องวงจรปิดและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูง
1.3 แบ่งตามลักษณะการติดตั้งกล้องวงจรปิด
- กล้องวงจรปิดแบบFixed คือ กล้องวงจรปิดที่มีการติดตั้งแบบตายตัว โดยสามารถปรับมุมกล้องได้ ณ ที่ติดตั้งกล้องเท่านั้น
- กล้องวงจรปิดแบบPan-Tilt  คือ กล้องวงจรปิดที่สามารถปรับมุมกล้องได้โดยใช้รีโมทคอนโทรลควบคุมจากระยะไกลได้
- กล้องวงจรปิดแบบPan-Tilt Zoom คือ กล้องวงจรปิดที่สามารถปรับมุมกล้องได้โดยใช้รีโมทคอนโทรลควบคุมจากระยะไกล และ สามารถซูมเข้า
ซูมออกได้ ตามต้องการ
2. สายเคเบิลสำหรับการส่งสัญญาณภาพ เป็นสื่อนำสัญญาณภาพจากกล้องวงจรปิดไปสู่เครื่องบันทึกภาพหรือจอรับภาพ สามารถใช้ได้ทั้งสายนำสัญญาณแบบทั่วไป หรือสายใยแก้ว(Fiber Optic) ที่นิยมใช้คือสายRG6 หรือสายLan ซึ่งสายRG6จะมีการใช้งานมากกว่า 
เพราะกล้องวงจรปิดส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบันมีการส่งสัญญาณภาพแบบอนาล็อก ส่วนสายLanจะใช้สำหรับงานที่ต้องเดินสายเคเบิลสำหรับ
การส่งสัญญาณภาพเป็นระยะทางที่ไกลมากๆ ซึ่งการจะใช้สายLanกับกล้องวงจรปิดทั่วๆไปนั้นจะต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
จากอนาล็อกเป็นดิจิตอลด้วย ในกรณีที่เป็นIP Camera ซึ่งมีการส่งสัญญาณภาพแบบดิจิตอลอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณอีก
ส่วนIP Camera แบบWireless ไม่ต้องใช้สายเคเบิลในการรับภาพ
3. สายไฟ ระบบกล้องวงจรปิด จำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงเหมือนอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป จึงจำเป็นต้องมีการลากสายไฟไปยังจุดที่มีการติดตั้งกล้องวงปิด
และต้องดูว่ากล้องวงจรปิดที่ใช้ต้องการไฟเท่าไหร่ หากไม่ใช่220V(ไฟบ้าน) ก็จำเป็นต้องมีหม้อแปลงไฟ(Adaptor)ด้วย
4. เครื่องบันทีกภาพ(DVR) เป็นเครื่องที่ใช้รับสัญญาณภาพจากกล้องวงจรปิดเพื่อบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในระบบรักษาความปลอดภัย เพราะ ถือเป็นมันสมองของระบบกล้องวงจรปิดทั้งหมด การที่ระบบกล้องวงจรปิดนั้น จะบันทึกภาพได้ละเอียดมากน้อยขนาดไหน ดูผ่านอินเทอร์เนตได้หรือไม่
เลือกการทำงานของMotion Detective(ฟังก์ชั่นในการเลือกบันทึกภาพเฉพาะตอนที่มีการเคลื่อนไหว)ได้หรือไม่ และฟังก์ชั่นอื่นๆอีกมากมายนั้น
ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องบันทึกภาพทั้งหมด และหากไม่มีเครื่องบันทึกภาพเราก็ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้
5. จอแสดงผล(Monitor) เป็นตัวเผยแพร่สัญญาณภาพ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งจอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ก็ได้

 

www.nana-sat.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้